กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
Medical Sciences Technical Office
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
Medical Sciences Technical Office
การสร้างและพัฒนาต้นแบบวัสดุกำบังรังสีจากวัสดุเชิงประกอบ
เพื่อประยุกต์ใช้ในงานทางด้านรังสี
P.1
P.2
P.3
P.4
P.5
P.6
วัสดุเชิงประกอบแบเรียมซัลเฟตและเรซิน
เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่แบบพกพาถูกนำมาใช้เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ทำให้โรงพยาบาลและสถานประกอบการเอกชนนำเข้าเครื่องเอกซเรย์มาเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเคลื่อนย้ายง่าย ใช้ออกพื้นที่ภาคสนาม โรงพยาบาลสนาม และกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ทำให้ผู้ปฏิบัติงานทางด้านรังสีมีความเสี่ยงต่อการได้รับรังสีสูง จึงต้องยึดหลักการป้องกันอัตรายจากรังสีตาม IAEA กำหนด สิ่งสำคัญผู้ปฏิบัติงานต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันรังสีเพื่อช่วยลดทอนประมาณรังสี และลดความเสี่ยงต่อการได้รับรังสีสูงเกินความจำเป็น อุปกรณ์ป้องกันรังสีส่วนมากทำมาจากตะกั่ว ซึ่งตะกั่วเป็นพิษและมีน้ำหนักมาก ทำให้มีหลากหลายงานวิจัยคิดค้นพัฒนาวัสดุกำบังรังสีปราศจากตะกั่ว และไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
โครงการการสร้างและพัฒนาต้นแบบวัสดุกำบังรังสีจากวัสดุเชิงประกอบเพื่อประยุกต์ใช้ในงานทางด้านรังสี ผู้วิจัยสนใจคิดค้นวัสดุเชิงประกอบเพื่อพัฒนาเป็นวัสดุกำบังรังสีที่ปราศจากตะกั่ว ไม่มีพิษ ราคาถูก สามารถใช้ลดทอนประมาณรังสีได้เทียบเท่าตะกั่วหนา 0.25 มิลลิเมตร โดยดำเนินการศึกษาวัสดุเชิงประกอบผสมระหว่างแบเรียมซัลเฟต ซึ่งแบเรียมซัลเฟตเป็นสารทึบทางรังสี ใช้ในทางการแพทย์ ใช้สำหรับให้ผู้ป่วยกลืนลงร่างกายและถ่ายภาพทางรังสีเพื่อวินิจฉัยโรคอวัยวะทางเดินอาหาร นำมาผสมกับเรซิน ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถขึ้นรูปที่ซับซ้อนได้ดี แข็งแรง และสามารถขึ้นรูปได้ง่ายที่อุณหภูมิห้อง จากการศึกษาวัสดุเชิงประกอบแบเรียมซัลเฟตและเรซิน ที่อัตราส่วน 0:100 ถึง 80:20 พบว่าที่ 80:20 ไม่สามารถขึ้นรูปได้ จากการศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนปริมาณรังสีเชิงเส้น ด้วยเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยทั่วไป พบว่ายิ่งเพิ่มปริมาณแบเรียมซัลเฟตส่งผลให้ค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนปริมาณรังสีมีค่าสูงขึ้น มีค่าร้อยละการลดทอนปริมาณรังสีได้ดีสูงสุดถึง 99.37 สามารถนำมาสร้างและพัฒนาเป็นวัสดุกำบังรังสีปราศตะกั่วเพื่อประยุกต์ใช้ในงานทางด้านรังสี ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
จากการศึกษาข้างต้นนำมาพัฒนาต่อเนื่องโดยทำการศึกษาวัสดุเชิงประกอบแบเรียมซัลเฟตและ เรซิน ที่อัตราส่วน 0:100 ถึง 70:30 พบว่ายิ่งเพิ่มปริมาณแบเรียมซัลเฟตส่งผลให้วัสดุเกิดความเปราะมากขึ้น จึงวางแผนการทดสอบในขั้นตอนต่อไป โดยนำมาทดสอบคุณภาพของวัสดุ ด้วยการทดสอบคุณสมบัติทางกล และคุณสมบัติทางกายภาพ และเลือกอัตราส่วนที่มีคุณสมบัติที่คงทนเหมาะสม นำมาพัฒนาและสร้างเป็นวัสดุกำบังรังสีกระเจิงจากวัสดุเชิงประกอบแบเรียมซัลเฟตและเรซิน