งานมหกรรม
DMSc R2R Forum 2023
: R2R to Health for Wealth
จัดโดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
งานมหกรรม
DMSc R2R Forum 2023
: R2R to Health for Wealth
จัดโดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
คณะทำงานลงทะเบียนรับบทคัดย่อ มหกรรม DMSc R2R Forum 2023 : R2R to Health for Wealth
งานมหกรรม DMSc R2R Forum 2023 : R2R สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (R2R to Sustainable Development) ว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นองค์กรหลักด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งก่อตั้งขึ้นมา 81 ปีแล้ว มีองค์ความรู้ที่สำคัญสะสมมาอย่างต่อเนื่องในวันนี้ถือเป็นงานสำคัญที่จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข อาทิ งานด้านคุ้มครองผู้บริโภค ด้านชันสูตรโรค ด้านรังสีและเครื่องมือแพทย์ และมีสายงานสนับสนุน ประกอบด้วยระบบคุณภาพ การพัฒนาบุคลากร การพัฒนากลยุทธ์และงบประมาณ การคลังและพัสดุ รวมถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
การจัดงานมหกรรม DMSc R2R Forum 2023 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการถอดบทเรียนและสื่อสารแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการพัฒนางานประจำสู่การวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร โดยเปิดโอกาสให้ทั้งบุคลากรภายในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานเครือข่ายห้องปฏิบัติการ ได้เผยแพร่ผลงานวิชาการ รวมทั้งเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ข้อมูลข่าวสาร สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ก่อให้เกิดการพัฒนาตนเอง เกิดการพัฒนางาน พัฒนาหน่วยงาน และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
“การจัดงานครั้งนี้ในรูปแบบผสมผสานทั้ง Online และ Onsite ไม่เสียค่าลงทะเบียน มีผู้เข้าร่วมงาน ประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขภายในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้งจากส่วนกลางและศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานเครือข่ายห้องปฏิบัติการที่สนใจเข้าร่วมส่งผลงานประกวดประเภทการนำเสนอผลงานด้วยวาจา (Oral Presentation) แบ่งเป็นด้านคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 40 เรื่อง ด้านชันสูตรโรค จำนวน 40 เรื่อง ด้านรังสีและเครื่องมือแพทย์ จำนวน 40 เรื่อง และด้านภารกิจสนับสนุน จำนวน 40 เรื่อง”
กำหนดการลงทะเบียนรับบทคัดย่อ งานมหกรรม DMSc R2R Forum 2023 : R2R
ขั้นตอนการส่งผลงานนำเสนอ
1. การรับบทคัดย่อเปิดระหว่างวันที่ 7 มิถุนายน - 5 กรกฎาคม 2566
หมายเหตุ: 1. วันที่ 7 มิถุนายน 2566 เปิดให้ลงทะเบียน เวลา 08.00 น.
2. วันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ปิดรับลงทะเบียน เวลา 16.30 น.
2. การลงทะเบียนบทคัดย่อ เปิดให้ลงผ่านระบบออนไลน์ JOTFORM เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น (ไม่รับยื่นบทคัดย่อ ผ่านช่องทางอื่น) พร้อมส่งบทคัดย่อตามรูปแบบที่กรมกำหนด(จำนวน 2 ไฟล์ ได้แก่ ไฟล์ Word และ ไฟล์ PDF)
3. หลักฐานการยืนยันว่าลงทะเบียนสำเร็จระบบ JOTFORM จะส่งแบบตอบรับอัตโนมัติให้ ดังนี้
- ให้ผู้สร้างฟอร์ม (เจ้าหน้าที่รับลงทะเบียนบทคัดย่อ)
- ให้ผู้นำเสนอผลงาน ทางเมลที่กรอกไว้ใน JOTFORM ตอนลงทะเบียน เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานการยืนยันว่าได้ลงทะเบียนสำเร็จแล้ว กรณี ที่มีปัญหาการส่งบทคัดย่อ ตกหล่น หรือไม่สมบูรณ์
4. การพิจารณาคัดเลือกผลงานเบื้องต้น จำนวนประมาณ 40 เรื่อง/ประเภท ทั้งนี้ หากผลงานมีจำนวนมาก คณะกรรมการขอสงวนสิทธิการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
5. ประกาศลำดับการนำเสนอผลงาน Oral Presentation วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 .
ผ่านทางเว็บไซต์ www.plandmsc.com
6. กำหนดให้ผู้นกเสนอผลงานคัดย่อ ส่ง PPT ภายในวันที่ 18 กรกฎาคม 2566
7. วันที่จัดงานระหว่างวันที่ 25-26 กรกฏาคม 2566 ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
**************************************************
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ขอเชิญร่วมนำเสนอผลงาน ในงานมหกรรม DMSc R2R Forum 2023 : R2R to Health for Wealth ระหว่างวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2566 ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี ผู้ประสงค์นำเสนอผลงาน กรุณาส่งบทคัดย่อ ได้ตั้งแต่ 7 มิถุนายน - 5 กรกฎาคม 2566 โดยลงทะเบียนผ่านทางระบบออนไลน์ JOTFORM ที่ลิงค์นี้ค่ะ https://form.jotform.com/msto.moph/DMScR2R ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์นำเสนอผลงาน วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ทางเว็บไซต์ www.plandmsc.com
สอบถามรายละเอียดได้ที่
กองแผนงานและวิชาการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
โทร. 0 2951 0000, 0 2589 9850-7 ต่อ 99037, 99080
INFOGRAPHIC ประชาสัมพันธ์มหกรรม R2R 2023
หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์นี้ LINK:
คำอธิบายการส่งผลงานนำเสนอพร้อมรายละเอียด
1. ผลงานที่ส่งในมหกรรม DMSc R2R Forum 2023: R2R to Health for Wealth มีขอบข่ายในการส่งผลงาน ดังนี้
งานภารกิจหลัก หมายถึง กลุ่มผลงานที่เป็นการดำเนินงานตามพันธกิจ/ภารกิจหลักของหน่วยงาน เช่น งานเฝ้าระวัง งานทางห้องปฏิบัติการ งานคุ้มครองผู้บริโภค และการทดสอบความชำนาญ โดยแบ่งเป็นการนำเสนอ 3 ด้าน ดังนี้
1) ด้านรังสีและเครื่องมือแพทย์ หมายถึง กลุ่มผลงานที่เป็นการดำเนินงานด้านรังสี มาตรวิทยาทางรังสี
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องมือแพทย์ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI)
2) ด้านคุ้มครองผู้บริโภค หมายถึง กลุ่มผลงานที่เป็นการดำเนินงานด้านอาหาร ยา วัตถุเสพติด สมุนไพร เครื่อง
สำอาง วัตถุอันตราย ชีววัตถุ
3) ด้านชันสูตร หมายถึง กลุ่มผลงานที่เป็นการดำเนินงานด้านไวรัสวิทยา แบคทีเรียวิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยา
กีฏวิทยา พิษวิทยา ชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ งานภารกิจสนับสนุน หมายถึง กลุ่มผลงานที่เป็นการดำเนิน
งานเพื่อสนับสนุนหน่วยงาน เช่น งานธุรการ งานด้านระบบสารสนเทศ งานด้านการจัดการบุคลากร งานบริหาร
จัดการองค์กร งานด้านกฎหมาย งานพัสดุ งานแผน งานคุณภาพห้องปฏิบัติการ งานความปลอดภัยทางห้อง
ปฏิบัติการ เป็นต้น
2. ประเภทผลงานที่นำเสนอประกอบด้วย 4 ประเภท ได้แก่
1) ประเภทงานด้านรังสีและเครื่องมือแพทย์
2) ประเภทงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค
3) ประเภทงานด้านชันสูตร
4) ประเภทงานภารกิจสนับสนุน
โดยผู้ส่งผลงานต้องระบุประเภทผลงานที่ส่งประกวด ทั้งนี้คณะกรรมการขอสงวนสิทธิการพิจารณาคัดเลือกผลงานแต่ละประเภทได้ตามความเหมาะสม และในกรณีที่ไม่สามารถระบุได้ว่าอยู่ในประเภทใด คณะกรรมการจะเป็นผู้พิจารณากำหนดประเภทให้ โดยผลงานที่ได้รับคัดเลือก จะพิจารณาตามคุณภาพเป็นหลัก และถือมติของคณะกรรมการเป็นที่สิ้นสุด
3. การนำเสนอผลงานเป็นการนำเสนอด้วยวาจา (Oral Presentation) โดยนำเสนอ 12 นาที และซักถาม 3 นาที รวมไม่เกิน 15 นาที/ท่าน ทั้งนี้ ผู้นำเสนอสามารถเลือกช่องทางการนำเสนอได้ในที่ห้องประชุมกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Onsite) หรือทาง Online ผ่านระบบ Zoom meeting (ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการนำเสนอผลงานด้วยวิดิทัศน์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น อาจใช้สื่อวิดิทัศน์ประกอบการนำเสนอได้ แต่ไม่ควรเกินระยะเวลา 5 นาที)
4. ผู้ที่นำเสนอผลงานในการจัดงานมหกรรมเท่านั้นจึงจะเป็นผู้ได้รับใบประกาศนียบัตร
5. ผลงานที่ส่งเป็นผลงานที่เข้าข่าย R2R ย้อนหลังได้ 5 ปี (ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2561 - ปัจจุบัน)
6. ผลงานที่ส่งไม่เคยได้รับรางวัลในเวทีระดับชาติมาก่อน
7. ผลงานที่ส่งไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการมาก่อน
8. แบบฟอร์มนี้สำหรับ ผู้นำเสนอผลงาน R2R เท่านั้น ซึ่งเป็นการลงทะเบียนเข้าร่วม และส่งบทคัดย่อโดยต้องดำเนินการกรอกข้อมูลให้แล้วเสร็จในครั้งเดียว ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 การลงทะเบียนของผู้นำเสนอ (Registration of presenter)
ส่วนที่ 2 ข้อมูลผลงานที่นำเสนอ
ส่วนที่ 3 บทคัดย่อ
ส่วนที่ 4 รายละเอียดผลงาน
9. ผู้นำเสนอแจ้งความประสงค์ช่องทางในการนำเสนอ (รูปแบบ Online หรือ Onsite) ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงช่องทางในการนำเสนอโปรดแจ้งผู้ประสานงานกองแผนงานและวิชาการภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2566
10. ผู้นำเสนอแจ้งอีเมล และเบอร์โทรศัพท์/โทรสาร สำหรับประสานงานติดต่อ
11. ต้องบันทึกข้อมูล บทคัดย่อ เป็นภาษาไทยที่มีความยาวไม่เกิน 300 คำ (ถ้าเกินระบบจะตัด คำที่เกิน ให้โดยอัตโนมัติ)
12. การเรียงลำดับรายชื่อผู้นิพนธ์ในบทคัดย่อ ให้เรียงตามสัดส่วนการมีส่วนร่วมของผลงาน จากมากที่สุดไปน้อยที่สุด โดยผู้นำเสนอผลงานต้องเป็นผู้มีรายชื่อร่วมอยู่ในผลงาน
13. ผู้นำเสนอแต่ละท่านสามารถส่งบทคัดย่อได้ไม่เกิน 2 เรื่อง โดยกรณีส่ง 2 เรื่อง ให้ submit 2 ครั้ง
14. ผู้นำเสนอจะได้รับอีเมลตอบกลับอัตโนมัติ พร้อมสำเนาข้อมูล (หากไม่ได้รับอีเมล์ โปรดตรวจสอบใน Junk mail ก่อนติดต่อกลับเจ้าหน้าที่)
15. ผู้นำเสนอสามารถนำเสนอได้เพียง 1 ท่าน และการตอบคำถามจากคณะกรรมการต้องตอบโดยผู้นำเสนอเท่านั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำเสนอโปรดแจ้งผู้ประสานงานภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2566
16. หลังจาก submit แล้ว จะไม่สามารถแก้ไขบทคัดย่อได้ การแก้ไขจะทำได้หลังจากกรรมการพิจารณาและแนะนำให้มีการแก้ไขแล้วเท่านั้น
17. ระบบจะเปิด ลงทะเบียนในวันที่ 7 มิถุนายน - 5 กรกฎาคม 2566
18. สามารถยื่นบทคัดย่อผ่านแบบฟอร์มของผ่านระบบออนไลน์ JOTFORM เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น (ไม่รับยื่นบทคัดย่อ ผ่านช่องทางอื่น)
19. แนบไฟล์บทคัดย่อ (จำนวน 2 ไฟล์ ได้แก่ ไฟล์ Word และ ไฟล์ PDF) หากไม่แนบไฟล์ จะไม่ได้รับการคัดเลือกพิจารณา
20. คณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกผลงานเบื้องต้น จำนวนประมาณ 40 เรื่อง/ประเภท ทั้งนี้ หากผลงานมีจำนวนมาก คณะกรรมการขอสงวนสิทธิการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม และจะแจ้งให้ทราบในวันประกาศลำดับการนำเสนอผลงาน (วันที่ 12 กรกฎาคม 2566)
21. หากพบปัญหาการส่งบทคัดย่อ ติดต่อเจ้าหน้าที่ :
ทีมสำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
คุณนาวี ศรีวรมย์ หรือ คุณอนุชิต บุญกิตติวศิน โทร 02 951 0000, 02 589 9850-8 ต่อ 99653, 99357
ติดต่อได้ในวันเวลาราชการ หรือสามารถแจ้งผ่านอีเมล msto.gm@dmsc.mail.go.th
หากมีความจำเป็น และประสงค์แจ้งเปลี่ยนช่องทางการนำเสนอ (Onsite/Online) โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ :
กองแผนงานและวิชาการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
คุณอันนา แสนใจ หรือ คุณวรรณวิภา ฤทธิญาณ โทร 02 951 0000, 02 589 9850-8 ต่อ 99037, 99080
ติดต่อได้ในวันเวลาราชการ หรือสามารถแจ้งผ่านอีเมล monitor_plan@dmsc.mail.go.th
1. ชื่อเรื่อง
- สั้น กะทัดรัด สื่อเป้าหมายหลักของการศึกษา
- ชื่อไทย - ความยาวไม่เกิน 130 ตัวอักษร (นับตัวอักษรและช่องไฟ) ทั้งนี้หากเป็นคำเฉพาะสามารถใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษได้
2. ชื่อผู้แต่ง
- ไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อ
- ให้ใส่เครื่องหมายดอกจัน (*) ท้ายนามสกุลผู้นำเสนอ โดยไม่มีเว้นวรรค เช่น นายชุด ทดสอบ*
- หากมีผู้แต่งมากกว่า 1 ท่าน สามารถใส่ได้สูงสุด 5 ท่าน
- หากมีผู้แต่ง 6 ท่านขึ้นไป ให้ทำเครื่องหมายถูกที่ช่อง “และคณะ”
3. บทคัดย่อ
- ให้ระบุเป็นภาษาไทยเท่านั้น โดยมีเนื้อหาครอบคลุมหัวข้อดังนี้
1) ชื่อเรื่อง : ภาษาไทย ความยาวไม่เกิน 130 ตัวอักษร (นับตัวอักษรและช่องไฟ)
2) ชื่อผู้นิพนธ์/ชื่อหน่วยงาน : ระบุชื่อผู้นิพนธ์ และชื่อหน่วยงานของผู้นิพนธ์และผู้ร่วมนิพนธ์ทุกท่าน
โดยให้ใส่เครื่องหมายดอกจัน (*) ท้ายนามสกุลผู้นำเสนอ โดยไม่มีเว้นวรรค เพียง 1 ท่าน พร้อมระบุอีเมล และเบอร์โทรศัพท์/โทรสาร ของผู้นำเสนอ (ในกรณีที่ผู้รับผิดชอบบทความเป็นบุคคลเดียวกับผู้นำเสนอ) แต่ในกรณีผู้รับผิดชอบบทความ ไม่ใช่ผู้นำเสนอ ให้แจ้งชื่อผู้รับผิดชอบบทความในแบบลงทะเบียน พร้อมอีเมล และเบอร์โทรศัพท์ด้วย
(หมายเหตุ: การเรียงลำดับรายชื่อผู้นิพนธ์ในบทคัดย่อให้เรียงตามสัดส่วนของการมีส่วนร่วมของผลงานจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด โดยผู้นำเสนอผลงานต้องเป็นผู้มีรายชื่อร่วมอยู่ในผลงาน)
3) บทนำและวัตถุประสงค์ : อธิบายความเป็นมาที่เกี่ยวข้องและความสำคัญของปัญหาโดยย่อ และวัตถุประสงค์ของการศึกษา/วิจัย (ความยาวไม่ควรเกิน 2 – 3 บรรทัด)
4) วิธีการศึกษา : อธิบายรูปแบบการศึกษา ปีที่ดำเนินการ วิธีการดำเนินการ วิธีการรวบรวมข้อมูลการกำหนดตัวอย่างและวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ (ถ้ามี)
5) ผลการศึกษา : อธิบายผลการศึกษาที่สำคัญ สอดคล้องกับวิธีการศึกษา
6) สรุปและข้อเสนอแนะ : สรุปสาระสำคัญของผลการศึกษา และข้อเสนอแนะที่อาจนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ หรือให้ข้อเสนอแนะประเด็นปัญหาที่สามารถปฏิบัติได้สำหรับการศึกษา/วิจัย ต่อไป
7) คำสำคัญ : ควรใช้คำสำคัญที่มาจากชื่อเรื่องหรืออยู่ในเนื้อหาบทคัดย่อ โดยไม่เกิน 5 คำ และใส่จุลภาคคั่นระหว่างคำทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
4. ไฟล์แนบบทคัดย่อ
- เป็นภาษาไทยที่มีความยาวไม่เกิน 300 คำ
- พิมพ์ด้วยอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 Point
- ตั้งค่าหน้ากระดาษ ดังนี้ ขอบบน 2 ซม. ขอบล่าง 1.5 ซม. ด้านซ้าย 3 ซม. ด้านขวา 2 ซม.
- สัญลักษณ์ อักขระ รูปแบบอักษรต่าง ๆ (เช่น ตัวเอียง ตัวยก ฯลฯ) อาจแสดงผลไม่ถูกต้องในแบบฟอร์มนี้ ดังนั้น ผู้ส่งผลงานต้องแนบไฟล์เวิร์ด (doc, docx) และไฟล์ .pdf ของบทคัดย่อ เพื่อยืนยันลักษณะพิเศษดังกล่าว
- ต้องแนบไฟล์บทคัดย่อที่มีเนื้อหาเดียวกับข้อ 3 จำนวน 2 ไฟล์ ได้แก่ ไฟล์ Word และไฟล์ PDF
ข้าพเจ้าได้อ่านคำชี้แจง และคำแนะนำข้างต้นครบทุกข้อ และยินดีปฏิบัติตาม หากข้าพเจ้าปฏิบัติไม่ถูกต้อง ยินดีถูกตัดสิทธิ์การนำเสนอโดยไม่มีข้อโต้แย้ง
ข้าพเจ้าได้รับการอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาของข้าพเจ้าในการส่งผลงานครั้งนี้
ข้าพเจ้ายินยอมให้เผยแพร่ผลงานที่นำเสนอทั้ง Onsite และระบบ Online (ผ่านระบบ Zoom ในวันที่จัดงานมหกรรม) และนำบทคัดย่อไปตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานได้
ข้าพเจ้ายินยอมรับผลการตัดสินของคณะกรรมการเป็นที่สิ้นสุด
ช่องทางการส่งผลงานนำเสนอ ดาวน์โหลดเอสาร
เล่มบทคัดย่อประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566