แบบประเมินตนเอง (Self-Assessment)
ของหน่วยงานในสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ตามแนวทางการขับเคลื่อน DMSc Integrity Organization Model
สู่การเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบอย่างยั่งยืน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

หน่วยงาน : สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ 

เบอร์โทรศัพท์ 02 951 0000 ต่อ 99357-8    มือถือ 06 3179 1737     E-mail : gm.msto@dmsc.mail.go.th 

หมวด 1 : การนำองค์กร (ภาวะผู้นำ)
คำนิยาม : การนําองคกรโดยผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ มีเจตนารมณ์มีนโยบายที่ชัดเจน และเป็นแบบอย่างที่ดีในการประพฤติปฏิบัติตน แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อการ ประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม เป็นหมวดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารกำหนดทิศทางในการพัฒนาหน่วยงานไปสู่การเป็นองค์กรคุณธรรมโปร่งใส ส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การป้องกันการทุจริตหรือประพฤติมิชอบภายในหน่วยงาน ประกอบด้วยข้อมูล หมวดย่อย ดังนี้ 1) ความมุ่งมั่นในการบริหารงาน 2) การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร

หมวดย่อย 1.1 ความมุ่งมั่นในการบริหารงาน
รายละเอียดการดำเนินงาน และเกณฑ์การประเมินและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา
ข้อ 1.1.1 หน่วยงานมีการประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต และนโยบายไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy)

 ข้อ 1.1.2 หน่วยงานมีการประกาศเจตนารมณ์รวมพลังขับเคลื่อนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สู่การเป็นองค์กรคุณธรรมอย่างยั่งยืน

ข้อ 1.1.3 หน่วยงานมีการประกาศเจตนารมณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทํางานและจริยธรรมข้าราชการที่สําคัญของหน่วยงาน


ข้อ 1.1.4 ผู้บริหารมีการกําหนดนโยบายและแผนงานในการดําเนินงาน ประจําปีงบประมาณ 2566

ข้อ 1.1.5 ผู้บริหารมีการสื่อสารถ่ายทอดนโยบายและแผนงานทิศทางของหน่วยงานสู่ผู้ปฏิบัติงาน 

(อุทธรณ์)

ข้อ 1.1.6 ผู้บริหารมีนโยบายในการจัดการความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน

 (อุทธรณ์)

หมวดย่อย 1.2 การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
รายละเอียดการดำเนินงานเกณฑ์การประเมินและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา
ข้อ 1.2.1 ผู้บริหารหน่วยงานและบุคลากรในหน่วยงานร้อยละ 80 ขึ้นไป ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนี้

ข้อ 1.2.2 ผู้บริหารหน่วยงานและบุคลากรในหน่วยงานร้อยละ 80 ขึ้นไป ร่วมกันทบทวนคุณธรรมอัตลักษณ์ของหน่วยงาน จากปีงบประมาณที่ผ่านมา  (ทบทวนจาก “ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ”) 

ข้อ 1.2.3 ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการกำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์จาก“ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ” 

(อุทธรณ์)

ข้อ 1.2.4 ผู้บริหารของหน่วยงานให้ความสำคัญในการส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตนตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมข้าราชการ และข้อกำหนดจริยธรรม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์


หมวด 2 : การวางแผนเชิงกลยุทธ์
คำนิยาม : องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการจัดทำวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการขององค์กร การนำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม การนำนโยบายหรือทิศทางขององค์กรมากำหนดแผนงาน โครงการ/กิจกรรม เพื่อให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ที่ต้องการ กำหนดเป้าประสงค์ที่ต้องการจะบรรลุ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และงบประมาณที่ต้องใช้เพื่อให้บรรลุตลอดจนวิธีการวัดผลความก้าวหน้า เป้าหมาย ประกอบด้วยข้อมูล หมวดย่อย ดังนี้1) แผนการดำเนินงาน 2) การสื่อสารนโยบาย/แผนและถ่ายทอดแผน 3) การนำแผนสู่การปฏิบัติ

หมวดย่อย 2.1 แผนการดำเนินงาน
รายละเอียดการดำเนินงานเกณฑ์การประเมินและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา
ข้อ 2.1.1 หน่วยงานมีการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี และการใช้งบประมาณประจำปี 

ข้อ 2.1.2 หน่วยงานมีการจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุประจำปี ของหน่วยงาน ทั้งนี้ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุ พ.ศ. 2560

 (อุทธรณ์)

ข้อ 2.1.3 หน่วยงานมีการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม ป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ หรือแผนพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ภายในหน่วยงาน ประกอบด้วย

ข้อ 2.1.4 หน่วยงานมีการจัดทำแผนการประเมินความเสี่ยงเชื่อมโยงด้านคุณธรรม จริยธรรมและการป้องกัน ปราบปรามการทุจริต 

(อุทธรณ์)

ข้อ 2.1.5 หน่วยงานมีการจัดทำแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล ประจำปี

 (อุทธรณ์)

หมวดย่อย 2.2 การสื่อสารนโยบาย/แผนและถ่ายทอดแผน
รายละเอียดการดำเนินงานเกณฑ์การประเมินและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา
ข้อ 2.2.1 หน่วยงานมีการสื่อสารถ่ายทอดนโยบายผู้บริหารสูงสุดสู่บุคลากรภายในหน่วยงานอย่างทั่วถึง ดังนี้

 (อุทธรณ์)

ข้อ 2.2.2  หน่วยงานมีการสื่อสารแผนการดำเนินงานสู่การปฏิบัติสู่บุคลากรภายในหน่วยงาน ดังนี้


 ข้อ 2.2.3 หน่วยงานมีการสื่อสารแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี 

(อุทธรณ์)

หมวดย่อย 2.3 การนำแผนสู่การปฏิบัติ
รายละเอียดการดำเนินงานเกณฑ์การประเมินและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา
ข้อ 2.3.1 หน่วยงานมีการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายของหน่วยงานเพื่อนำไปปฏิบัติ 

(อุทธรณ์)

ข้อ 2.3.2 หน่วยงานมีการติดตามผลการดำเนินการตามแผน

หมวด 3 : การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชน
คำนิยาม : การเปิดเผยวิธีการปฏิบัติงาน การให้บริการแก่ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชน การทำงานที่มีความโปร่งใสไม่ขัดกับหลักผลประโยชน์ทับซ้อนเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม และเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน พัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการ เป็นหมวดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินว่าประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการทำองค์กรคุณธรรมอย่างไร ประกอบด้วยข้อมูล หมวดย่อย ดังนี้ 1) ข้อมูลการให้บริการ 2) การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

หมวดย่อย 3.1 ข้อมูลการให้บริการ
รายละเอียดการดำเนินงานเกณฑ์การประเมินและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา
ข้อ 3.1.1 หน่วยงานมีการจัดทำและเผยแพร่คู่มือการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน โดยแสดงคู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติงานที่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานใช้ยึดถือปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 

(อุทธรณ์)

ข้อ 3.1.2 หน่วยงานมีการจัดทำและเผยแพร่คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ โดยแสดงคู่มือการให้บริการประชาชน หรือคู่มือแนวทางการปฏิบัติที่ผู้รับบริการหรือผู้มาติดต่อกับหน่วยงานใช้เป็นคู่มือในการขอรับบริการหรือติดต่อกับหน่วยงาน

 (อุทธรณ์)

ข้อ 3.1.3 หน่วยงานจัดให้มีช่องทางการสื่อสาร ที่หลากหลายที่สามารถเข้าถึงผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพ 

(อุทธรณ์)

ข้อ 3.1.4 หน่วยงานจัดให้มีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นระบบสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก

ข้อ 3.1.5 การใช้ข้อมูลและสารสนเทศของกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่าง 

(อุทธรณ์)


หมวดย่อย 3.2 การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

รายละเอียดการดำเนินงานเกณฑ์การประเมินและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา

ข้อ 3.2.1 หน่วยงานมีการจัดทำรายงานผลสำรวจความพึงพอใจการให้บริการหน่วยงาน โดยจะต้องแสดง URL ผลการสำรวจความพึงพอใจ รอบ 12 เดือน ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ข้อ 3.2.2 หน่วยงานมีการประเมินความพึงพอใจการให้บริการของหน่วยงาน ปีงบประมาณปัจจุบัน

ข้อ 3.2.3 หน่วยงานแสดงผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานมีข้อมูลผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วม อย่างน้อย ประกอบด้วย (1) ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม (2) สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม (3) ผลการมีส่วนร่วม (4) การนำผลการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน (5) เป็นการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ข้อ 3.2.4 หน่วยงานจัดให้มีกระบวนการจัดการข้อร้องเรียนอย่างเป็นระบบ

ข้อ 3.2.5 หน่วยงานมีการประเมินความสุขและความผูกพันของบุคลากรในหน่วยงาน

หมวด 4 :  การวัด การประเมิน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
คำนิยาม : หน่วยงานมีจัดการองค์ความรู้ด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม การป้องกันการทุจริต มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินว่าหน่วยงานมีการประเมิน การติดตาม การรวบรวม จัดการ เผยแพร่ข้อมูล สู่ผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาองค์กรคุณธรรมร่วมกับหน่วยงานอื่น ประกอบด้วยข้อมูล หมวดย่อย ดังนี้ 1)การจัดการความรู้และจัดทำองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และป้องกันการทุจริต 2) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการป้องกันการทุจริต

หมวดย่อย 4.1 การจัดการความรู้และการจัดทำองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และป้องกันการทุจริต
รายละเอียดการดำเนินงานเกณฑ์การประเมินและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา

ข้อ 4.1.1 หน่วยงานจัดทำองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และป้องกันการทุจริต (ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด) โดยแสดงหลักฐานการจัดทำบนเว็บไซต์ของหน่วยงาน

ข้อ 4.1.2 หน่วยงานมีการจัดการข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ

ข้อ 4.1.3 หน่วยงานมีกระบวนการ/แนวทางในการรักษาความลับของข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน/ภายนอก ของหน่วยงาน เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่นำข้อมูลมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน 

(อุทธรณ์)

ข้อ 4.1.4 หน่วยงานมีกระบวนการจัดการความรู้ภายในหน่วยงาน 

(อุทธรณ์)

ข้อ 4.1.5 หน่วยงานมีกระบวนการรวบรวมข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอย่างเป็นระบบเพื่อใช้ในการเรียนรู้พัฒนาหน่วยงาน

 (อุทธรณ์)


หมวดย่อย 4.2 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และป้องกันการทุจริต

รายละเอียดการดำเนินงานเกณฑ์การประเมินและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา

ข้อ 4.2.1 หน่วยงานมีการจัดกิจกรรมรณรงค์แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อส่งเสริมบุคลากรในหน่วยงานมีแรงบันดาลใจในการทำความดีอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ (1) รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม  (2) ภาพกิจกรรม (3) รายงานผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ข้อ 4.2.2 หน่วยงานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรมแสดงผลงานวิชาการเพื่อถ่ายทอดขยายผล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานองค์กรคุณธรรมต้นแบบร่วมกับหน่วยงานอื่น ดังนี้ (1) รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม (2) ภาพกิจกรรม (3) ผลการเรียนรู้การดำเนินงานองค์กรคุณธรรม 

ข้อ 4.2.3 หน่วยงานมีการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และแนวทางการประพฤติปฏิบัติ

ข้อ 4.2.4 หน่วยงานมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ภายในหน่วยงาน ดังนี้ (1) รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม (2) ภาพกิจกรรม (3) รายงานผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

(อุทธรณ์)

ข้อ 4.2.5 หน่วยงานมีการใช้องค์ความรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหน่วยงาน 

(อุทธรณ์)



หมวด 5การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
คำนิยาม : การจัดการทรัพยากรบุคคล โดยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการและพัฒนาบุคลากรให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นมืออาชีพควบคู่กับการสร้างสมดุลของคุณภาพงานและคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมกับความจำเป็น และได้รับความเป็นธรรมในการปฏิบัติราชการ ส่งเสริมให้บุคลากรเป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรม มีทัศนคติต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ส่งเสริมการมีส่วนร่วม การให้ความสำคัญแก่บุคลากรทุกคนที่มีส่วนร่วมในองค์กร ประกอบด้วยข้อมูล หมวดย่อย ดังนี้ 1) การบริหารทรัพยากรบุคคล 2) การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรและความร่วมมือ 3)การเชิดชูบุคลากรภายในหน่วยงาน

หมวดย่อย 5.1 การบริหารทรัพยากรบุคคล
รายละเอียดการดำเนินงานเกณฑ์การประเมินและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา

ข้อ 5.1.1 หน่วยงานมีระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ


ข้อ 5.1.2 หน่วยงานมีระบบการพัฒนาทรัพยากรบุคคล 

(อุทธรณ์)


ข้อ 5.1.3 หน่วยงานมีแนวปฏิบัติหรือมีคู่มือการบริหารงานบุคคลที่โปร่งใสเป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติ 

(อุทธรณ์)


ข้อ 5.1.4 หน่วยงานมีการจัดทำแบบมอบหมายงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามแบบฟอร์มของฝ่ายการเจ้าหน้าที่ สำนักงานเลขานุการกรม และสื่อสารให้บุคลากรลงลายมือชื่อรับทราบแบบมอบหมายงาน


หมวดย่อย 5.2 การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรและความร่วมมือ
รายละเอียดการดำเนินงานเกณฑ์การประเมินและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา
ข้อ 5.2.1 การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร โดยมีการเพิ่มประเด็นคุณธรรมเป้าหมายหรือกิจกรรมเพิ่มเติม (นอกเหนือจากคุณธรรมอัตลักษณ์ที่หน่วยงานกำหนดขึ้น) ในมิติ “หลักธรรมทางศาสนา”

(อุทธรณ์)


ข้อ 5.2.2 การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร โดยมีการเพิ่มประเด็นคุณธรรมเป้าหมายหรือกิจกรรมเพิ่มเติม (นอกเหนือจากคุณธรรมอัตลักษณ์ที่หน่วยงานกำหนดขึ้น) ในมิติ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 

(อุทธรณ์)


ข้อ 5.2.3 การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร โดยมีการเพิ่มประเด็นคุณธรรมเป้าหมายหรือกิจกรรมเพิ่มเติม (นอกเหนือจากคุณธรรมอัตลักษณ์ที่หน่วยงานกำหนดขึ้น) ในมิติ “วิถีวัฒนธรรม”

 (อุทธรณ์)


ข้อ 5.2.4 หน่วยงานมีการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติที่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน เคารพในศักดิ์ความเป็นมนุษย์ ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้ปฏิบัติงาน 


ข้อ 5.2.5 การเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินงานของหน่วยงาน เช่น การจัดทำงบประมาณ การจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณ การเบิกจ่ายงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้างกระบวนการบริหาร


หมวดย่อย 5.3 การเชิดชูบุคลากร
รายละเอียดการดำเนินงานเกณฑ์การประเมินและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา
ข้อ 5.3.1 หน่วยงานมีการจัดกิจกรรมยกย่องเชิดชูบุคลากรในสังกัดที่ประพฤติปฏิบัติตนตามมาตรฐานทางจริยธรรม ดังนี้ (1) มีการคัดเลือกคนดี คนเด่น ภายในหน่วยงาน (2) มีการเผยแพร่/ประกาศ/ยกย่อง/บุคลากรของหน่วยงาน


หมวด 6 : การจัดการกระบวนการ
คำนิยาม : เป็นการประเมินการจัดการกระบวนการดำเนินงาน การให้บริการ และกระบวนการอื่นที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ในการประเมินโดยเน้นการเปิดเผยข้อมูล การปฏิบัติงานที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วยข้อมูล หมวดย่อย ดังนี้1) การเสริมสร้างมาตรฐานทางจริยธรรม 2) การขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม 3) การส่งเสริมความโปร่งใสและการประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ

หมวดย่อย 6.1 การเสริมสร้างมาตรฐานทางจริยธรรม
รายละเอียดการดำเนินงานเกณฑ์การประเมินและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา
ข้อ 6.1.1 หน่วยงานมีการสร้างการรับรู้เรื่องมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และข้อกำหนดจริยธรรมกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ข้อ 6.1.2 หน่วยงานมีส่งเสริมความเข้าใจ และขับเคลื่อนจริยธรรมภายในหน่วยงาน


ข้อ 6.1.3 หน่วยงานมีการสร้างการตระหนักรู้ในพฤติกรรมหรือประเด็นล่อแหลมต่างๆ รวมทั้งการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม


ข้อ 6.1.4 หน่วยงานมีการนำเงื่อนไขด้านจริยธรรม และคุณธรรม ไปใช้ประกอบการพิจารณาในกระบวนการบริหารงานบุคคล เช่น การประเมินผลการปฏิบัติราชการ การแต่งตั้ง การคัดเลือกบุคลากรดีเด่น การฝึกอบรม เป็นต้น


ข้อ 6.1.5 หน่วยงานมีการนำระบบเครดิตทางสังคม (Social Credit) มาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในสังคม (การยกย่องเชิดชูบุคลากรที่มีคุณธรรมจริยธรรม)


ข้อ 6.1.6 หน่วยงานมีกระบวนการสร้างคนดี คนเก่ง คนกล้า ในด้านคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ และเจตคติค่านิยมที่ดี ส่งผลให้เกิดการทำความดีเพิ่มขึ้น ปัญหาเชิงคุณธรรมลดลง

ข้อ 6.1.7 หน่วยงานมีกระบวนการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้บุคลากรมีความรับผิดชอบ 

 (อุทธรณ์)

ข้อ 6.1.8 กระบวนการมีส่วนร่วมของหัวหน้าหน่วยงานในการการส่งเสริมจริยธรรม เพื่อสร้างการรับรู้การทำตามต้นแบบผู้นำ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและกระตุ้นให้บุคลากรในหน่วยงานปฏิบัติตาม

ข้อ 6.1.9 หน่วยงานมีกระบวนการส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนจริยธรรมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.2562 ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และข้อกำหนดจริยธรรมของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

 (อุทธรณ์)

ข้อ 6.1.10 หน่วยงานมีกระบวนการส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานมีจริยธรรม มีความใสสะอาดปราศจากพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต


หมวดย่อย 6.2 การขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรม

รายละเอียดการดำเนินงานเกณฑ์การประเมินและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา

ข้อ 6.2.1 หน่วยงานมีการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของหน่วยงาน อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษ


ข้อ 6.2.2 หน่วยงานมีกระบวนการในการค้นหา “ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ” 


ข้อ 6.2.3 หน่วยงานมีการกำหนดคุณธรรมเป้าหมาย จาก“ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ” ไม่น้อยกว่า 5 เรื่อง โดยต้องสอดคล้องกับ 

 คุณธรรม 5 ประการ : พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ประมวลจริยธรรมจ้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2564 ข้อกำหนดจริยธรรมข้าราชการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แนวทางปฏิบัติตามจรรยาบรรณกระทรวงสาธารณสุข คุณธรรมเชิงสัมพัทธ์ หลักสำคัญ คือยึดถือประโยชน์ส่วนรวมที่สูงที่สุด ระบบเครดิตสังคม คือ การส่งเสริมการให้ด้วยพลังเชิงบวก


ข้อ 6.2.4 หน่วยงานมีการแปลงคุณธรรมเป้าหมายของหน่วยงานสู่พฤติกรรมการปฏิบัติของบุคลากรในหน่วยงาน โดยสร้างกิจกรรมหรือกระบวนการทำงานหรือเป้าหมายตัวชี้วัดเป็นลายลักษณ์อักษร (คำชี้แจง : หน่วยงานมีคุณธรรมเป้าหมายจำนวนกี่ข้อ ซึ่งจะต้องมีการแปลงคุณธรรมสู่พฤติกรรมการปฏิบัติครบทุกข้อ)


ข้อ 6.2.5 หน่วยงานมีการส่งแสริมคุณธรรม จริยธรรม ในหน่วยงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดคุณธรรมเป้าหมายจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร (1) ส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตามที่กรมฯ หรือหน่วยงานภายนอกกำหนด (2) หน่วยงานจัดโครงการ / กิจกรรมที่แสดงถึงการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน มีคุณธรรมจริยธรรม โดยมีรายละเอียดดังนี้  (2.1) โครงการ/กิจกรรม ของหน่วยงาน อย่างน้อยจำนวน 2 โครงการ/กิจกรรม (2.2) ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม


ข้อ 6.2.6 หน่วยงานมีการส่งแสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ ให้บุคลากรของหน่วยงาน  (1) ส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบตามที่กรมฯ หรือหน่วยงานภายนอกกำหนด  (2)  หน่วยงานจัดโครงการ / กิจกรรมที่แสดงถึงการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน มีทัศนคติ ค่านิยมในการปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์ สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี รับผิดชอบต่อหน้าที่ตามมาตรฐานทางจริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ และสร้างวัฒนธรรมให้เจ้าหน้าที่ปฏิเสธการรับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีรายละเอียดดังนี้  (3) ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม 


ข้อ 6.2.7 หน่วยงานสนับสนุนให้มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม


ข้อ 6.2.8 หน่วยงานมีการส่งเสริมให้ผู้บริหารและบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมเทิดทูนสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์


ข้อ 6.2.9 หน่วยงานมีการนำคุณธรรมเพื่อจิตอาสาและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การประหยัดพลังงานและทรัพยากร การจัดการขยะ การสร้างพื้นที่สีเขียว เป็นต้น


ข้อ 6.2.10 หน่วยงานมีการถอดบทเรียนจากการดำเนินงานองค์กรคุณธรรม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 

(อุทธรณ์)


หมวดย่อย 6.3 การส่งเสริมความโปร่งใสและการประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริต
รายละเอียดการดำเนินงานเกณฑ์การประเมินและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา

ข้อ 6.3.1 หน่วยงานมีแนวปฏิบัติในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใสเป็นธรรม


ข้อ 6.3.2 หน่วยงานดำเนินการเผยแพร่ประกาศเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง หรือการจัดหาพัสดุ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เช่น ประกาศเชิญชวน , ประกวดราคา , ประกาศผลการจัดซื้อ จัดจ้าง เป็นต้น


ข้อ 6.3.3 หน่วยงานดำเนินการสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ ตามแบบ สขร.1จำแนกข้อมูลแยกเป็นรายเดือนในทุกเดือน ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พร้อมลงข้อมูลในระบบจัดซื้อจัดจ้าง e-Procurement ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

(กรณีไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือนใดให้เผยแพร่ว่าไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างในเดือนนั้น)


ข้อ 6.3.4 หน่วยงานดำเนินการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้างปีงบประมาณ พ.ศ.2565 มีรายละเอียดดังนี้ (1) งบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อจัดจ้าง

(2) ปัญหาอุปสรรคของการจัดซื้อจัดจ้าง (3) ข้อเสนอแนะการพัฒนาปรับปรุง (4) เสนอให้ผู้บริหารรับทราบ


ข้อ 6.3.5 หน่วยงานมีแนวปฏิบัติในการตรวจสอบการทุจริตหรือผลประโยชน์ทับซ้อน


ข้อ 6.3.6 หน่วยงานมีแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ของบุคลากร


ข้อ 6.3.7 หน่วยงานมีการวางระบบการบริหารความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ


ข้อ 6.3.8 การประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริตหน่วยงานดำเนินการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบของโครงการสำคัญตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี หรือตามวงเงินงบประมาณที่ กำหนด ของปีงบประมาณปัจจุบัน ตามคู่มือการรักษาความเป็นกลางและป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน 0600 WM 0036 แก้ไขครั้งที่ 03 มีรายละเอียด ดังนี้ (1) เหตุการณ์ความเสี่ยง (2) ระดับของความเสี่ยง (3) มาตรการ/กิจกรรม/แนวทาง/ในการบริหารจัดการความเสี่ยง
                  (กรณีไม่มีแผนบริหารความเสี่ยงตามวงเงินที่กำหนดให้แสดงหลักฐานการแจ้งกลุ่มงานจริยธรรมทราบ)


ข้อ 6.3.9 รายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบของโครงการสำคัญตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี หรือตามวงเงินงบประมาณที่กำหนด รอบ 6 และรายงานดังกล่าวต้องสอดคล้องกับแผนบริหารความเสี่ยงข้างต้น
                    (กรณีไม่มีแผนบริหารความเสี่ยงตามวงเงินที่กำหนดให้แสดงหลักฐานการแจ้งกลุ่มงานจริยธรรมทราบ)


ข้อ 6.3.10 รายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงการทุจริตของโครงการสำคัญตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี หรือตามวงเงินงบประมาณที่กำหนด รอบ 12 เดือนและรายงานดังกล่าวต้องสอดคล้องกับแผนบริหารความเสี่ยงข้างต้น
                  (กรณีไม่มีแผนบริหารความเสี่ยงตามวงเงินที่กำหนดให้แสดงหลักฐานการแจ้งกลุ่มงานจริยธรรมทราบ)



หมวด 7 : ผลลัพธ์การดำเนินการ
คำนิยาม : เป็นการประเมินผลการดำเนินการในการขับเคลื่อนหน่วยงานสู่การเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบอย่างยั่งยืน ที่ผลลัพธ์สะท้อน บุคลากรมีคุณธรรม องค์กรคุณธรรม ระบบงานคุณธรรมโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบและกำกับติดตามผลการดำเนินงาน การถอดบทเรียนการดำเนินงานเพื่อวิเคราะห์ผลสำเร็จ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน และเพื่อกำหนดแนวทางการในการพัฒนาในปีต่อไป ประกอบด้วยข้อมูล หมวดย่อย ดังนี้ 1) ผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานของหน่วยงาน 2) ผลการกำกับติดตามด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ

หมวดย่อย 7.1 : ผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานของหน่วยงาน
รายละเอียดการดำเนินงานเกณฑ์การประเมินและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา
ข้อ 7.1.1 หน่วยงานดำเนินการรายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565  (1) ผลการดำเนินโครงการหรือกิจกรรม (2) ผลการใช้จ่ายงบประมาณ (3) ปัญหา อุปสรรค (4) ข้อเสนอแนะ 

(อุทธรณ์)
                * (กรณีไม่มีปัญหา อุปสรรค ให้ระบุว่า ไม่มี)


ข้อ 7.1.2 หน่วยงานดำเนินการรายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานและการใช้งบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 รอบ 6 เดือน ตามปีงบประมาณปัจจุบัน (1) ความก้าวหน้าการดำเนินการแต่ละโครงการ/กิจกรรม (2) รายละเอียดงบประมาณที่ใช้ดำเนินการ (3) เสนอให้ผู้บริหารของหน่วยงานรับทราบ 


ข้อ 7.1.3 ร้อยละความสำเร็จในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ของหน่วยงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 

(อุทธรณ์)


ข้อ 7.1.4 หน่วยงานมีการรายงานผลการพัฒนาบุคลากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 

(อุทธรณ์)


ข้อ 7.1.5 ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 

(อุทธรณ์)


ข้อ 7.1.6 ร้อยละของจำนวนเรื่องร้องเรียนที่ ได้รับการแก้ไขประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    (*ข้อร้องเรียนที่หน่วยงานดำเนินการเอง กรณีไม่มีข้อร้องเรียนให้ส่งหลักฐานการแจ้งไปยังสำนักงานเลขานุการกรม)


ข้อ 7.1.7 จำนวนบุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนให้มีความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ  

(อุทธรณ์)


ข้อ 7.1.8 ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล 

(อุทธรณ์)


ข้อ 7.1.9 ร้อยละความสำเร็จของประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (หมายถึง การทำงานที่รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ ได้ผลคุ้มค่า ไม่ใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดอย่างฟุ่มเฟือย เช่น การลดค่าใช้จ่าย การลดระยะเวลาการให้บริการ การเพิ่มการใช้ e-Technology เป็นต้น

(อุทธรณ์)


ข้อ 7.1.10 ร้อยละของระดับความสุขความผูกพันของบุคลากร ในหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (อุทธรณ์)


หมวดย่อย 7.2 : การกำกับติดตามด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ
รายละเอียดการดำเนินงานเกณฑ์การประเมินและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา
ข้อ 7.2.1 หน่วยงานรายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตหรือแผนที่เกี่ยวข้อง ระดับหน่วยงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตหรือแผนที่เกี่ยวข้องระดับหน่วยงาน ร้อยละ 70 รอบ 6 เดือน ประจำปีงบประมาณปัจจุบัน มีรายละเอียด ดังนี้ (1) ความก้าวหน้าการดำเนินการโครงการ/กิจกรรม (2) ในการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ (3) ความก้าวหน้าการดำเนินการโครงการ/กิจกรรม (4) ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล (5) รายละเอียดงบประมาณที่ใช้ (6) เสนอให้หัวหน้าหน่วยงานรับทราบ (7) เผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน 

(อุทธรณ์)


ข้อ 7.2.2 ความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตหรือแผนที่เกี่ยวข้องระดับหน่วยงาน รอบ 12 เดือน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีรายละเอียด ดังนี้ (1) ความก้าวหน้าการดำเนินการโครงการ/กิจกรรม (2) ในการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ (3)ความก้าวหน้าการดำเนินการโครงการ/กิจกรรม (4)  ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล (5) รายละเอียดงบประมาณที่ใช้ (6) เสนอให้หัวหน้าหน่วยงานรับทราบ


ข้อ 7.2.3 หน่วยงานแสดงผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตหรือแผนที่เกี่ยวข้องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ต้องรายงานผลโครงการ/กิจกรรม ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ภายในหน่วยงาน มีรายละเอียด ดังนี้ (1) ผลการดำเนินการโครงการหรือกิจกรรมในการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ /ผลการดำเนินการโครงการหรือกิจกรรม ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล (2) ผลการใช้จ่ายงบประมาณ (3) ปัญหา อุปสรรค (4) ข้อเสนอแนะ (5) เสนอให้หัวหน้าหน่วยงานรับทราบ

(อุทธรณ์)


ข้อ 7.2.4 ผลการประเมินพฤติกรรมของบุคลากรที่มีการเปลี่ยนแปลงว่าเพิ่มขึ้น/ลดลงตามคุณธรรมเป้าหมายที่กำหนดหน่วยงานมีการประเมินพฤติกรรมของบุคลากรที่เปลี่ยนแปลงไปตามคุณธรรมจริยธรรมที่กำหนด (1) ผลการประเมิน (2) ภาพกิจกรรม/หลักฐานแสดงพฤติกรรมของบุคลากรตามคุณธรรมจริยธรรมที่กำหนด



ข้อ 7.2.5 หน่วยงานมีองค์ความรู้จากการดำเนินงานองค์กรคุณธรรม สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดขยายผลไปสู่องค์กรอื่นได้

  

ข้อ 7.2.6 ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ

(อุทธรณ์)



ข้อ 7.2.7 ผลการดำเนินการจัดวางระบบการควบคุมภายในของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


ข้อ 7.2.8 การติดตามและประเมินผลการควบคุมภายในควบคุมภายในของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


ข้อ 7.2.9 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงการทุจริตต่อการบริหารจัดการโครงการของหน่วยงาน

(อุทธรณ์)


ข้อ 7.2.10 ร้อยละของบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการจิตอาสาทั้งภายในและภายนอก

(อุทธรณ์)


แบบประเมินตนเอง (Self-Assessment) ของหน่วยงานในสังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 

ตามแนวทางการขับเคลื่อน DMSc Integrity Organization Model 

สู่การเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบอย่างยั่งยืน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

**************************

คะแนนรวมจากระบบการประเมินองค์กรคุณธรรม Moral Organization Assessment (MOA) 

หมวด 1 : การนำองค์กร (ภาวะผู้นำ) 94.00/100.00

หมวด 2 : การวางแผนเชิงกลยุทธ์  98.00/100.00

หมวด 3 : การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชน 90.00/100.00

หมวด 4 : การวัด การประเมิน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 84.00/100.00

หมวด 5 : การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล 96.00/100.00

หมวด 6 : การจัดการกระบวนการ       286.00/300.00

หมวด 7 : ผลลัพธ์การดำเนินการ                       198.00/200.00


  รวมทั้งสิ้น      946.00/1,000.00     คะแนน